อยากมีบ้านเป็นของตนเอง แต่ไม่รู้ว่าจะหาวิธีออมเงินอย่างไรดี ถ้ายังต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงลิ่วและมีสิ่งของล่อตาล่อใจให้เสียเงินมากมายแบบนี้ การจะเก็บเงินซื้อบ้านสักก้อนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายของคนที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้ายิ่งทำงานแบบฟรีแลนซ์ด้วยแล้ว การออมเงินเพื่อซื้อบ้านในฝันก็ยิ่งดูจะห่างไกลจากความเป็นจริงออกไปอีก แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีออมเงินต่อไปนี้ ชาวฟรีแลนซ์ทั้งหลายก็อาจเป็นเจ้าของบ้านในฝันได้ไม่ยากอีกต่อไป
การทำรายรับรายจ่ายถือเป็นเคล็ดลับในการเก็บเงินซื้อบ้านและบ้านที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้ตนเองทราบว่ามีรายรับเท่าไรและใช้จ่ายไปกับสิ่งใดบ้างในแต่ละเดือน เมื่อเห็นภาพรวมรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ชาวฟรีแลนซ์ก็จะสามารถคำนวณเงินที่สามารถเก็บออม และหาวิธีเพิ่มรายได้-ลดรายจ่ายของตนเอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการออมเงินให้มากขึ้น โอกาสในการขอกู้บ้านผ่านก็ยิ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
เนื่องจากรายได้ของชาวฟรีแลนซ์นั้นไม่สม่ำเสมอ การตั้งเป้าหมายว่าจะต้องออมเงินเป็นจำนวนหนึ่งต่อเดือนจึงดูจะไม่ตอบโจทย์สำหรับคนทำงานกลุ่มนี้ จึงขอเสนอวิธีออมเงินโดยการหักเปอร์เซ็นต์จากรายได้ที่เข้ามาในแต่ละรอบดีกว่า
เช่น ถ้าฟรีแลนซ์ได้รับรายได้จากค่างาน 6,000 บาท ก็หักเป็นเงินออมเลยร้อยละ 10-20 ของรายได้ โดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการออมของตนเอง ชาวฟรีแลนซ์ก็จะมีเงินออมทันที 600-1,200 บาท เมื่อรวมทั้งเดือนก็อาจมีเงินออมมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ต่อเดือนด้วยซ้ำ
*** การตั้งเป้าออมเงิน 10-20% จะช่วยให้ธนาคารประเมินรายได้ขั้นต่ำได้ และยังช่วยเพิ่มวินัยการออมเงินในเดือนที่มีรายได้เยอะกว่าปกติ ***
การโยนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ทิ้งไว้เฉย ๆ นอกจากจะไม่ได้อะไรกลับคืนมาให้ชื่นใจแล้ว มูลค่าเงินในบัญชีก็ยังค่อย ๆ ลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นการนำเงินออมไปฝากกับบัญชีฝากประจำดอกเบี้ยสูง หรือนำไปลงทุนกับกองทุนต่าง ๆ ตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ เงินที่เก็บสะสมไว้ก็จะงอกเงยได้มากกว่า แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ชาวฟรีแลนซ์ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกช่องทางลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง
วิธีออมเงินซื้อบ้านและบ้านอย่างได้ผลนั้นไม่ใช่แค่เก็บเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรู้จักบริหารจัดการเงินอย่างรอบคอบด้วย โดยต้องแยกบัญชีใช้จ่ายกับบัญชีเงินออมออกจากกันเป็นอันดับแรก และกันเงินออมไว้ไม่ให้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยง่าย ส่วนเงินที่แยกไว้ใช้จ่ายก็ควรใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็น และไม่ควรตามใจตนเองเมื่อคิดจะเก็บเงินซื้อบ้าน ไม่เช่นงั้นเงินออมอาจละลายกลายเป็นสิ่งของสนองความอยากของตนเองไปในที่สุด
เนื่องจากชาวฟรีแลนซ์ไม่มีสลิปหรือหนังสือรับรองเงินเดือนแบบผู้ที่ทำงานประจำ จึงมีสิ่งเดียวที่จะแสดงให้ธนาคารเห็นว่าฟรีแลนซ์มีรายได้จริง ๆ นั่นก็คือ หลักฐานทางภาษี ซึ่งจะช่วยยืนยันว่าฟรีแลนซ์มีรายได้ตลอดทั้งปี อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนรายได้อื่น ๆ ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางภาษี ธนาคารก็มักจะไม่นำมานับเป็นรายได้ โดยหลักฐานทางภาษีที่ฟรีแลนซ์จำเป็นต้องแสดงกับธนาคารเมื่อกู้บ้าน มีดังนี้
หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นเปรียบเสมือนสลิปเงินเดือนของชาวฟรีแลนซ์เลยก็ว่าได้ โดยลูกค้าจะต้องเป็นผู้ออกเอกสารฉบับนี้ให้กับชาวฟรีแลนซ์เสมอเมื่อมีการจ่ายเงินค่าจ้าง และมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามเงื่อนไขที่ว่าจ้างกันไว้ เช่น ค่าบริการหักร้อยละ 3 ของเงินค่าจ้าง เป็นต้น
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเอกสารที่ผู้มีรายได้ทุกคนจำเป็นต้องยื่นต่อกรมสรรพากรทุกปี โดยชาวฟรีแลนซ์หรือผู้มีรายได้หลายทางให้ใช้ ภ.ง.ด. 90 เพื่อแสดงรายได้ของปีที่ผ่านมา และจำนวนเงินต้องสัมพันธ์กับรายได้และภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 50 ทวิ ด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถขอคืนภาษีดังกล่าวได้ โดยแสดงรายการค่าใช้จ่ายและเอกสารที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 เช่น ใบเสร็จรับเงินจ่ายเบี้ยประกัน เอกสารการซื้อกองทุน LTF เอกสารการซื้อกองทุน RMF เอกสารรับรองบุตร ทะเบียนสมรส เป็นต้น เงินคืนภาษีนี้ก็จะเป็นการเพิ่มเงินออมอีกทางหนึ่ง
รู้หรือไม่ว่าการใช้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธีจะช่วยเพิ่มเครดิตให้กับผู้ถือบัตรได้ เพราะธนาคารสามารถดูพฤติกรรมการใช้จ่ายและวินัยทางการเงินของผู้ที่ต้องการกู้บ้านได้จากจุดนี้ การใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง จ่ายเต็มทุกครั้ง และไม่มีหนี้ผ่อนคงค้างจึงช่วยให้การกู้ซื้อบ้านมีโอกาสผ่านง่ายกว่าเดิม
นอกจากการเดินบัญชีรายได้ ชาวฟรีแลนซ์ยังต้องมีบัญชีเงินสำรองสำหรับเก็บเงินเพื่อใช้ทดแทนรายได้ในยามฉุกเฉินด้วย และควรมีสำรองอย่างร้อย 5-6 เท่าของรายได้โดยประมาณต่อเดือน ซึ่งวิธีออมเงินสำรองแบบนี้จะช่วยให้ธนาคารมั่นใจได้ว่าปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้กู้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผ่อนบ้านในอนาคต
แม้ว่าจะไม่มีแหล่งที่มาของรายได้ประจำ แต่ธนาคารก็ไม่เคยห้ามฟรีแลนซ์กู้ซื้อบ้านหรือบ้านแต่อย่างใด ขอเพียงแต่ใช้วิธีออมเงินที่ดี แสดงแหล่งที่มาของรายได้อย่างถูกต้อง และมีวินัยทางการเงิน ธนาคารก็พร้อมอ้าแขนต้อนรับชาวฟรีแลนซ์ด้วยความยินดี และเทคนิคเหล่านี้ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อชาวฟรีแลนซ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์เงินเดือนก็ทำได้ คนที่กำลังมองหาวิธีออมเงินแสนหรือวิธีออมเงินล้านก็นำไปใช้ออมเงินแบบยาว ๆ ได้เช่นกัน